AUNILO เป็นเครือข่ายความร่วมมือระหว่างห้องสมุดของมหาวิทยาลัยที่เป็นสมาชิก ASEAN University Network (AUN) จำนวน 30 แห่งจาก 10 ประเทศ จัดการประชุมมาแล้วอย่างต่อเนื่อง นับเป็นปีที่ 14 โดยแต่ละประเทศสลับกันเป็นเจ้าภาพ
ปีที่แล้ว เจ้าภาพจัดการประชุม 13th AUNILO Meeting ระหว่างวันที่ 7-9 สิงหาคม 2560 คือ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ประเทศไทย เว็บไซต์ของงานประชุมอยู่ที่ http://www.li.mahidol.ac.th/AUNILO2017/
มาปีนี้ (2018) Can Tho University Learning Resource Center มหาวิทยาลัยเกิ่นเทอ (Can Tho) สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม รับเป็นเจ้าภาพการประชุม 14th AUNILO Meeting ระหว่างวันที่ 2-4 กรกฎาคม 2561 สำหรับ Theme ในปีนี้คือ “Digital Scholarship Trends in Academic Libraries” เว็บไซต์ของงานประชุมอยู่ที่ http://storage.lrc.ctu.edu.vn/aunilo2018/
ผู้เขียน ในฐานะผู้บริหารหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็น 1 ใน 30 สมาชิกเครือข่าย ASEAN University Network (AUN) ได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุม โดยออกเดินทางเช้าวันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม 2561 ด้วยสายการบินไทย เที่ยวบิน TG550 จากสนามบินสุวรรณภูมิ ไปยังสนามบินเติ่นเซินเญิต (Tan Son Nhat) เมืองโฮจิมินห์ซิตี้ (Ho Chi Minh City) ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง (ค่าเครื่องบินไปกลับราคา 5,720 บาท) จากนั้น เดินทางต่อไปยังเมือง Can Tho (เกิ่นเทอ) ซึ่งเป็น 1 ใน 13 จังหวัด ดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง (Mekong Delta) มีแม่น้ำ 7 สายไหลรวมก่อนไหลออกสู่อ่าวตังเกี๋ย ทะเลจีนใต้ เมืองเกิ่นเทออยู่ทางทิศใต้ ประมาณ 170 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง จองห้องพักไว้ที่ริมแม่น้ำโขง Ninh Kieu Riverside Hotel ในราคา 3 คืน US$158.40 หรือประมาณ 5,224 บาท อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ 1 ดงเวียดนาม (Vietnamese dong: VND) เท่ากับ 0.0015 บาท ดังนั้น ธนบัตรเวียดนามที่เขียนว่า 500.000, 100.000, 50.000, 10.000 คิดเป็นเงินไทยคือ 750, 150, 75, 15 บาท เป็นต้น (โดยไม่ใช้เหรียญกษาปณ์) สถานที่อันเลื่องชื่อของเมืองเกิ่นเทอ คือ ตลาดน้ำขายส่งสินค้าทางการเกษตรที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีชื่อว่า ไคราง (Cai Rang) และแหล่งประมงเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืดนานาชนิด ซึ่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี รวมทั้งนักลงทุนจากประเทศไทยจำนวนมากได้ไปทำการค้าที่นั่นด้วย
เกร็ดความรู้ที่ได้รับจากการไปเข้าร่วมประชุม 14th AUNILO Meeting แบบสั้น ๆ โดยสรุป มีดังนี้
- เครือข่าย AUNILO มีเว็บไซต์หลักอยู่ที่ URL https://aunilosec.blog/
- AUNILO ได้รวบรวมรายชื่อระบบคลังสารสนเทศสถาบัน (AUNILO Institutional Repository Discovery Service) ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก เพื่อให้บริการแก่ผู้สนใจทั่วไป อยู่ที่เว็บไซต์ http://aunilo.uum.edu.my/
- AUNILO Secretariat รับผิดชอบโดยทีมของห้องสมุดมหาวิทยาลัย Universiti Sains Malaysia (USM) ประเทศมาเลเซีย มายาวนานนับ 10 ปี (ตั้งแต่ปี 2009-2018) ในปีหน้า 2019 จะเปลี่ยนมือเป็นทีมของห้องสมุดมหาวิทยาลัย University of the Philippines Diliman ประเทศฟิลิปปินส์
- ในปีนี้ Theme ของการประชุมคือ Digital Scholarship in Academic Libraries ซึ่งถือเป็นความท้าทายของห้องสมุดมหาวิทยาลัยอย่างยิ่ง แต่ละประเทศได้นำเสนอ Country Report เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ถึงแนวทางในการพัฒนาระบบบริการและปรับปรุงบทบาทของห้องสมุดในด้านต่าง ๆ แต่ละประเทศได้นำกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Digital Scholarship มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน ไม่ว่าจะเป็น เรื่องของ Digital Resources, Digital Literacy, Digital Curation and Preservation, Digital Collections, Institutional Repository, E-Learning/MOOCs, Digital Authoring (เช่น Blogs และ Social Media ต่าง ๆ), Digital Publishing/Knowledge Production (เช่น University Press, Journal Publishing), Digital Humanities, Data Visualization, Data Science และอื่น ๆ อีกมากมาย
- ที่ประทับใจคือ ประเทศอินโดนีเซีย มีระบบบริการระดับชาติ ที่สำคัญ ได้แก่ ระบบ Indonesia One Search http://www.onesearch.id พัฒนาระบบโดยหอสมุดแห่งชาติอินโดนีเซีย ระบบ Science and Technology Index (SINTA) http://sinta2.ristekdikti.go.id พัฒนาโดยกระทรวงการวิจัย เทคโนโลยี และอุดมศึกษา (Ministry of Research, Technology and Higher Education) และระบบ Indonesia’s Research Repository https://www.neliti.com พัฒนาโดยหอสมุดแห่งชาติร่วมกับ สถาบัน Indonesian Institute of Sciences และ The Conservation
- ส่วนห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่มีแนวคิดกว้างไกลกว่าใคร .. แน่นอน คือ NUS, NTU, SMU จากประเทศสิงคโปร์ เขาแนะนำให้รู้จักเว็บไซต์ DIRT Directory https://dirtdirectory.org/ ซึ่งเป็นแหล่งรวบรวมรายชื่อ Digital Research Tools ต่าง ๆ ที่ใช้ในงานทางวิชาการ ที่สิงคโปร์เน้นในเรื่องของการให้ความรู้ด้าน Digital Literacy และการสร้าง Data Repository, Digital Humanties ค่อนข้างมาก มีการสร้างระบบบล็อกที่ใช้ร่วมกันทั้งมหาวิทยาลัย Blogs@NTU มีการจัดอบรมและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาในเรื่อง Data Mining, Data Management — การสอน GIS/Web/Network/Data Visualization ด้วย ArcGIS, Gephi Python, d3.js Javascript Library และการสอนวิธี Clean data ด้วยโปรแกรม OpenRefine ในห้องสมุด ถือเป็นเรื่องธรรมดา
- ประเทศกัมพูชา นำเสนอวารสารออนไลน์ Cambodian Journal of Natural History ซึ่งเป็นวารสารเดียวของประเทศ ที่ปรากฎอยู่ในฐานข้อมูล ASEAN Citation Index (ACI) และนำเสนอระบบ E-learning บน EdX platform ที่ห้องสมุดมหาวิทยาลัย Royal University of Law and Economics (RULE) จัดทำขึ้น โดยได้รับความรู้จากการอบรม MOOC ในการประชุม 13th AUNILO Workshop เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งจัดขึ้นที่มหาวิทยาลัยมหิดล
- หลังจากจบการประชุม 14th AUILO Meeting ในวันที่ 2-3 กรกฎาคม 2561 แล้ว วันที่ 4 กรกฎาคม เป็นวัน Cultural Visit เจ้าภาพพาไปเยี่ยมชมสถานที่สำคัญ ๆ ของเมืองเกิ่นเทอ เพื่อการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น ได้แก่ ตลาดน้ำไคราง (Cai Rang Floating Market) โรงงานทำเส้นก๋วยเตี๋ยวเวียดนามที่เรียกว่า Hutieu วัดพุทธนิกายมหายาน Thien Vien Truc Lam Phuong Nam กิจกรรมท่องเที่ยวชุมชน Con Son Tourism Community อาทิ นั่งเรือไปยังเรือนแพกลางแม่น้ำโขงซึ่งทำอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงปลาน้ำจืด เดินข้ามท้องร่องเพื่อไปเก็บเงาะในสวน รับประทาน snack พื้นถิ่นของชาวเวียดนาม และชิมชาใบสาเก เป็นต้น
- ส่วนวันที่ 5 กรกฎาคม มีการฝึกอบรม AUNILO Workshop ภายใต้หัวข้อเรื่อง “Digital Scholarship: A Redefined Role of Librarians in Research Support“
- ท่านที่สนใจ Digital Scholarship หรือวงจรชีวิตของการสื่อสารทางวิชาการและการวิจัย ที่อะไร ๆ ก็กลายเป็น digital สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ต่าง ๆ เช่น
- https://101innovations.wordpress.com/
- https://scds.ca/what-is-ds/
- http://libds.nus.edu.sg/
- http://www.lib.cuhk.edu.hk/en/research/digital-scholarship
- http://roarmap.eprints.org/
- https://www.scienceopen.com/
- KUDOS Accelerating Research Impact https://www.growkudos.com/
- https://impactstory.org/
- http://www.vertigoventures.com/vv-impact-tracker/
- https://publons.com/
- https://www.digital-science.com/
- https://www.dimensions.ai/
- http://artifacts.ai/
- https://www.force11.org/
- https://researcheracademy.elsevier.com/
- https://scholarlykitchen.sspnet.org/
- https://crln.acrl.org/index.php/crlnews/article/viewFile/9505/10797
- https://crln.acrl.org/index.php/crlnews/article/view/17001/18750
ในอนาคต ห้องสมุดจะมีบทบาทอย่างไร เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งของวงการวิชาการในยุคดิจิทัล (Data Scholarship ) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ Open Science, Research Workflow, Copyright issues in Research Data Management, Research Marketing & Tracking Social Impact of Research with Alternative Metrics, New Student-centered Learning Pedagogy, Blockchain for Scholarly Communication ฯ ล ฯ
พบกันใหม่ในปีหน้า ในงานประชุม 15th AUNILO Meeting ที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติอินโดนีเซีย (Universitas Indonesia) กรุงจาการ์ต้า ประเทศอินโดนีเชีย