ผู้เขียนได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาดูงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และนำสมุดทำมือในโครงการ Happy Heart : จิตอาสาสมุดทำมือเพื่อน้อง ไปมอบให้แก่โครงการจิตอาสาสมุดเพื่อน้อง เปเปอร์เรนเจอร์ ณ บ้านจิตอาสา มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในวันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 โดยในช่วงเช้าได้เข้าศึกษาดูงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ซึ่งสามารถเข้าศึกษาดูงาน 2 เรื่อง ดังนี้
- การตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing)
- เส้นทางการเรียนรู้ (เส้นทางกรีน “อยู่” ดี) โดยศึกษาสภาพแวดล้อมภายในอาคารสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
หัวข้อ การตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing)
เป็นการฟังบรรยาย โดยคุณธวัชชัย คีรี เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่ไม่ใช่ส่วนราชการ ตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ. กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ.2544 เริ่มดำเนินงานมาตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2544 ได้งบประมาณจาก 2% ของภาษีสุราและยาสูบ ซึ่งมีหน้าที่เป็นกลไกที่ช่วยสนับสนุน ผลักดัน กระตุ้น และร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขับเคลื่อนขบวนการสร้างเสริมสุขภาพโดยใช้ความรู้นำ เพื่อลดการเจ็บป่วย และเสียชีวิตก่อนวัยอันควรของคนไทย สสส. เป็นที่รู้จักกันในการสร้างเสริมสุขภาพที่ส่งเสริมให้คนมีความรู้ความเข้าใจและนำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีเพื่อสร้างเสริมสุขภาพ และเปิดพื้นที่การเรียนรู้ เพื่อสร้างประสบการณ์ แรงบันดาลใจ และความรอบรู้เรื่องสุขภาพ ผ่านนิทรรศการ กิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ และสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ในนามศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ดำเนินงานในเรื่องของ กาย ปัญญา จิตใจ และสังคม
การออกแบบอาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะเพื่อรองรับการจัดกิจกรรมต่าง ๆ มีการออกแบบดังนี้
- เป็นอาคารที่ประหยัดพลังงาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- สร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการดูแลสุขภาพ
การตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing) เป็นการใช้สื่อในการสื่อสารของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ที่จะส่งสารต่าง ๆ ให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และเป็นการสื่อสารที่หวังผล ซึ่งมีการวางแผนและการดำเนินงานที่มุ่งไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคม และในตัวของเนื้อหาต้องทำให้สังคมดีขึ้น
การตลาดธุรกิจและการตลาดเพื่อสังคมแตกต่างกันอย่างไร
ตัวอย่างคลิปในการทำ การตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing) ของ สสส.
การทำงานของการตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing) มีแนวคิดดังนี้
- ทำความเข้าใจปัญหา ต้องทำให้รู้ถึงปัญหา เช่น สุขภาพไม่ดีเพราะอะไร และสามารถบอกวิธีการแก้ปัญหามาให้มากที่สุด และง่ายที่สุด แล้วนำมาวิเคราะห์คนสุขภาพไม่ต้องทำอย่างไร อะไรที่ทำให้สุขภาพไม่ดี ตัวอย่างเช่น การอ้วนลงพุง ทำให้สุขภาพไม่ดี
- กำหนดกลยุทธ์ ต้องกำหนดกลุ่มเป้าหมาย เช่น ประชาชน ทุกเพศ ทุกวัย ทุกที่ ทุกเวลา และ List วิธีการว่าทำอย่างไรได้บ้าง ตัวอย่างเช่น ทำอย่างไรให้เขารู้ว่าเขาอ้วนลงพุง ส่วนสูง/2 แล้ววิธีการแก้ต้องทำอย่างไรบ้าง เราต้อง list มาทั้งหมด จากกลุ่มเป้าหมายดังนั้นวิธีการที่จะทำให้คนสุขภาพดีคือลดกิน การการแกว่งแขน จะให้ไม่อ้วนและไม่ลงพุงเป็นต้น
- ออกแบบแคมเปญรณรงค์ ออกแบบสื่อหรือสื่อการเรียนรู้ เช่น การความรู้ รายการทีวี เกมโชว์ ทำกิจกรรม ไลน์ สื่อออนไลน์ Artwork เป็นต้น สื่อทุกอันไม่ได้เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย ช่องทางก็เช่นกัน จะต้องใช้ช่องทางใดบ้าง (กลุ่มเป้าหมายต้องชัด) เมื่อรณรงค์เมื่อเกิดกระแสคนจะเริ่มจำ และทำได้
- ต่อยอดต่อไปเรื่อย ๆ ทำงานอย่างต่อเนื่อง การติดตามผลและประเมินผล และการเรียนรู้ ดูจากสถิติต่าง ๆ เช่น ดูผลจาก โรงพยาบาล ว่าคนที่ป่วยมีจำนวนลดลงไหม
กระบวนการการตลาดเพื่อสังคม
- สร้างการรับรู้ คือ การให้ข้อมูล บอกให้รับรู้
- สร้างความเข้าใจ ต้องให้ความเข้าใจว่าเราต้องการจะบอกอะไร มีปัญหาอย่างไร เช่นการลดพุงลดโรคส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร
- ตระหนักถึงความเสี่ยง ให้เขาเห็นถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
- สร้างจิตสำนึกสร้างค่านิยม คำที่พูดและคนเข้าใจ
- สร้าง สนับสนุน ผลักดันนโยบาย ผลักดันเรื่องกฎหมาย เช่น กฎหมายเหล้า เป็นต้น
- การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ค่อย ๆ ปล่อย และติดตามผลและปรับปรุงให้ดีขึ้น
การตลาดเพื่อสังคม (Social Marketing) คือการขายของไปเรื่อย ๆ เพื่อให้เขารับรู้ เกิดปัญหาก็ปรับ ท่านสามารถดูสื่อต่าง ๆ หรือข้อมูลต่าง ๆ ของ สสส. ได้ จากเว็บไซต์ https://www.thaihealth.or.th/
ภาพบรรยากาศการฟังบรรยาย
หัวข้อ เส้นทางการเรียนรู้ (เส้นทางกรีน “อยู่” ดี) โดยศึกษาสภาพแวดล้อมภายในอาคารสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
วิทยากรพาเดินชมอาคาร
เริ่มต้นจาก ชั้น 6
1. แปลงผักสาธิต เน้นไปที่การปลูกผักแนวตั้ง “สวนผักคนเมือง” เน้นคนกรุงเทพเป็นหลัก เพื่อปลูกฝังให้มีแหล่งพื้นที่สีเขียวเพิ่ทขึ้น เอาเศษอาหารจากโรงอาหารมาทำปุ๋ย ซึ่งดินทั้งหมดเป็นดินปุ๋ยหมัก และยังมีกิจกรรมในการทำแปลงผักแนวตั้ง การปลูกผัก การทำปุ๋ย การบำรุงพืชอย่างไร เป็นต้น จะสอนทุก เสาร์แรกของทุกเดือน
2. ห้องฟิตเนต
3. ห้องพยาบาล
4. ห้องให้นมบุตร
5. โถงกลางจะเปิดโล่งตรงกลาง และมีลมพัดเย็นสบาย ตอนก่อสร้างมีการดูทิศทางของลม ซึ่งจะทำให้รู้สึกว่าเราอยู่ใกล้กับธรรมชาติมากที่สุด
ชั้น 4 และชั้น 5 จะเป็นโซนออฟฟิต ซึ่งสามารถเคลื่อนย้ายได้ มีไฟที่โต๊ะทำงาน เพื่อเวลาพักปิดไฟคนทิอยากทำงานก็สามารถมาทำงานได้ต่อ ด้านข้างจะเป็นกระจกที่มีแสงอาทิตย์เข้ามาและมีฝ้าสีขาวเพื่อสะท้อนแสง ให้มีแสงสว่างเพียงพอต่อการทำงาน
ชั้น 3
1. ประกอบด้วยห้องประชุม ซึ่งแบ่งเป็นโซน เช่นโซนภูเขา ทะเล ป่าไม้ (โทนสีและวัสดุที่ใช้ก็กลมกลืนกันในแต่ละโซน) เช่นมีทราย ต้นไผ่ เป็นต้น
2. ห้องอาศรม เป็นห้องที่ต้องความสงบ อาจจะมีการจัดกิจกรรมเพื่อผู้สูงอายุ
3. บรรยากาศด้านนอก
ชั้น 2
1. ห้องสมุด มีหนังสือต่าง ๆ และหนังสือที่เกี่ยวกับ สสส. และมีชุดกิจกรรมเพื่อให้บริการ
3. ประติมากรรมต่าง ๆ
4. ห้องประชุม
5. บรรยากาศด้านนอก
ชั้น1
1. ห้องนิทรรศการ ในช่วงที่ปิดการให้บริการเนื่องจากกำลังดำเนินการสร้างนิทรรศการใหม่ เปิดในช่วงเดือน มีนาคม
2. ห้องประชาสัมพันธ์
3. ห้องอาหาร ในส่วนของเครื่องปรุ่งจะมีการเจาะรูช้อนเครื่องปรุงเพื่อลดปริมาณการปรุง
4. ห้องซื้อของที่ระลึก
5. ห้องตรวจสุขภาพ
6. มีพื้นที่ให้ออกกำลังกายได้
นอกจากนี้ทุกพื้นที่ และสิ่งของเครื่องยังมีการให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ อีกด้วย
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณวิทยากรที่ให้ความรู้ และยังมอบหนังสือ ศูนย์การเรียนรู้สุขภาวะให้กับคณะดูงานในครั้งนี้
และในช่วงบ่ายได้นำสมุดทำมือที่ได้จากโครงการ Happy Heart : จิตอาสาสมุดทำมือเพื่อน้อง จำนวน 360 เล่ม ไปมอบให้แก่โครงการจิตอาสาสมุดเพื่อน้อง เปเปอร์เรนเจอร์ ณ บ้านจิตอาสา มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีคุณพี มารับมอบสมุดทำมือ
เขียนโดย
นางสาวอาทิตยา ทรัพย์สิน
ภาพโดย
นางสาวปัทมาภรณ์ แสงสว่าง
ขอบคุณผู้เข้าร่วมศึกษาดูงาน และผู้อยู่เบื้องหลังทุกท่าน
คณะทำงานเสริมสร้างความสุขคนทำงานและเสริมสร้างสุขภาวะองค์กรแบบยั่งยืนของหอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดล