
การจัด “โครงการอบรมเตรียมความพร้อมเพื่อเข้ารับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย ประจำปีงบประมาณ 2562” จัดโดย กองกฏหมาย สำนักงานอธิการบดี วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ 2562 เวลา 08.30 น.- 12.00 น. ณ ห้องประชุม 101 (ประชาสังคมอุดมพัฒน์) ชั้น 1 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา (ซึ่งเลื่อนการอบรมมาจากวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เนื่องจากสถานการณ์คุณภาพอากาศ PM 2.5 วิกฤตเกินค่ามาตรฐาน) กล่าวเปิดอบรมโดย รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ สรายุทธ สุภาพรรณชาติ รักษาราชการแทนรองอธิการบดีฝ่ายบริหาร โครงการอบรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ
- เพื่อเตรียมความพร้อมเข้ารับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2562
- ให้บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น รวมถึงเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย และบุคลากรตระหนักและให้ความสำคัญในเรื่องการดำเนินงานอย่างโปร่งใส มีคุณธรรมเป็นไปตามหลักธรรมมาภิบาล

โครงการอบรมครั้งนี้บรรยาย โดย นายอภิรักษ์ แสงทอง เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตปฏิบัติการ สำนักงาน ป.ป.ช. ผู้บรรยายได้บรรยายถึงความเป็นมาตามมติคณะรัฐมนตรี 23 มกราคม 2561 เห็นชอบให้หน่วยงานภาครัฐทุกหน่วยงานให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment: ITA) เป็นมาตรการป้องกันการทุจริตเชิงรุกที่หน่วยงานภาครัฐทั่วประเทศจะต้องดำเนินการโดยมุ่งหวังให้หน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมินและแนวทางในการพัฒนา และยกระดับหน่วยงานในด้านคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานได้อย่างเหมาะสม โดยมีกรอบการประเมิน 10 ตัวชี้วัด 3 เครื่องมือ ดังนี้
กรอบการประเมิน 10 ตัวชี้วัด
- การปฏิบัติหน้าที่ (Bribery-Fraud) ประเด็นคำถาม คือ
─ การให้บริการโปร่งใสตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด
─ การให้บริการอย่างเท่าเทียม
─ พฤติกรรมการปฏิบัติงาน
✚ มุ่งผลสำเร็จของงาน
✚ ให้ความสำคัญกับงานมากกว่าธุระส่วนตัว
✚ พร้อมรับผิดชอบ หากความผิดพลาดเกิดจากตนเอง
✚ การเรียกรับฯ จากผู้มาติดต่อหรือผู้มารับบริการ เพื่อแลกกับการอนุมัติอนุญาต หรือให้บริการ
✚ การรับโดยธรรมจรรยา
✚ การให้ฯ แก่บุคคลภายนอกหรือบริษัทเอกชน เพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและคาดหวังให้มีการตอบแทนในอนาคต
- การใช้งบประมาณ (Budget Misallocation) ประเด็นคำถาม คือ
การรับรู้ถึงรายละเอียดงบประมาณรายจ่ายประจำปี
─ การใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงาน
✚ การใช้จ่ายเงินงบประมาณ ที่คุ้มค่า ไม่บิดเบือนวัตถุประสงค์
✚ การใช้งบประมาณ เพื่อประโยชน์ส่วนตัว กลุ่ม หรือพวกพ้อง
─ การเบิกจ่ายเงินงบประมาณที่เป็นเท็จ
─ การจัดซื้อจัดจ้างและการตรวจรับ
✚ โปร่งใส ตรวจสอบได้
✚ เอื้อประโยชน์ให้ผู้ประกอบการรายใดรายหนึ่ง
─ การมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้งบประมาณ
- การใช้อำนาจ (Power Distortion) ประเด็นคำถาม คือ
─ การมอบหมายงานอย่างเป็นธรรม
─ การมอบหมายงานอย่างเป็นธรรม
─ การประเมินความดีความชอบ ตามระดับคุณภาพของผลงาน
─ การคัดเลือกผู้เข้ารับการฝึกอบรม การศึกษาดูงาน หรือการให้ทุนการศึกษา อย่างเป็นธรรม
─ การสั่งการให้ทำธุระส่วนตัว
─ การสั่งการให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้องหรือมีความเสี่ยงต่อการทุจริต
─ การบริหารงานบุคคล
✚ ถูกแทรกแซงจากผู้มีอำนาจ
✚ มีการซื้อขายตำแหน่ง
✚ เอื้อประโยชน์ให้กลุ่มหรือพวกพ้อง
- การใช้ทรัพย์สินของทางราชการ(Asset Misappropriation) ประเด็นคำถาม คือ
─ สถานการณ์การนำทรัพย์สินของราชการไปใช้
✚ บุคลากรในหน่วยงานของท่าน มีการเอาทรัพย์สินของราชการ ไปเป็นของส่วนตัว หรือนำไปให้กลุ่มหรือพวกพ้อง มากน้อยเพียงใด
─ ขั้นตอนการขออนุญาตเพื่อยืมทรัพย์สินของราชการ ไปใช้ปฏิบัติงานในหน่วยงานของท่าน มีความสะดวก มากน้อยเพียงใด
─ บุคคลภายนอกหรือภาคเอกชน มีการนำทรัพย์สินของราชการไปใช้ โดยไม่ได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง จากหน่วยงานของท่าน มากน้อยเพียงใด
─ การรับรู้ต่อแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ทรัพย์สินของราชการ
─ การกำกับดูแลและตรวจสอบการใช้ทรัพย์สินของราชการ
- การแก้ไขปัญหาการทุจริต (Anti – Corruption Improvement) ประเด็นคำถาม คือ
─ บทบาทของผู้บริหารสูงสุดในการให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาทุจริต
─ การดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาการทุจริต
✚ ทบทวนนโยบายหรือมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการทุจริตในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพ
✚ จัดทำแผนงานด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของหน่วยงาน
─ ปัญหาการทุจริตในหน่วยงานของท่าน ได้รับการแก้ไข มากน้อยเพียงใด
─ การป้องกันการทุจริตในหน่วยงาน
✚ การเฝ้าระวัง
✚ การตรวจสอบ
─ การนำผลการตรวจสอบของฝ่ายตรวจสอบทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน ไปปรับปรุงการทำงาน เพื่อป้องกันการทุจริต
ฝ่ายตรวจสอบภายใน หมายถึง ส่วนงานตรวจสอบภายในของหน่วยงาน
ฝ่ายตรวจสอบภายนอก หมายถึง หน่วยงานที่มีอำนาจหน้าที่ตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงาน
ภาครัฐ เช่น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เป็นต้น
─ กระบวนการจัดการเรื่องร้องเรียนการทุจริต
- คุณภาพการดำเนินงานของหน่วยงาน(Service Quality) ประเด็นคำถาม คือ
─ การปฏิบัติงาน/การให้บริการ ของเจ้าหน้าที่ โปร่งใสตามขั้นตอนและระยะเวลาที่กำหนด
─ การให้บริการอย่างเท่าเทียม
─ การให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมา
─ ประสบการณ์ตรงจากการติดต่อ หน่วยงาน
✚ การถูกร้องขอฯ ให้จ่ายฯ เพื่อแลกกับการอนุมัติ อนุญาต หรือให้บริการ
─ การดำเนินงาน โดยคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชนและส่วนรวม เป็นหลักมากน้อยเพียงใด
- ประสิทธิภาพการสื่อสารของหน่วยงาน (Communication Efficiency)ประเด็นคำถาม คือ
─ การเผยแพร่ข้อมูลของหน่วยงาน
✚ เข้าถึงง่าย
✚ มีช่องทางหลากหลาย
─ การเผยแพร่ผลงานหรือข้อมูลที่สาธารณชนควรรับทราบ
─ มีช่องทางรับฟังคำติชมหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการดำเนินงาน/การให้บริการ
─ การชี้แจงและตอบข้อกังวลสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินงาน
─ มีช่องทางรับฟังคำติชมหรือความคิดเห็นเกี่ยวกับการให้บริการ
─ มีช่องทางให้ผู้รับบริการร้องเรียนการทุจริตของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงาน
- การปรับปรุงระบบการทำงานของหน่วยงาน (Communication Improvement) ประเด็นคำถาม คือ
─ การปรับปรุงคุณภาพการให้บริการ
✚ การปรับปรุงคุณภาพการปฏิบัติงาน/การให้บริการให้ดีขึ้น
─ การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการดำเนินงาน/การให้บริการให้เกิดความสะดวกรวดเร็วมากขึ้น
─ การเปิดโอกาสให้มีส่วนร่วมในการปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงาน/การให้บริการ
─ พยายามที่จะปรับปรุงการดำเนินงาน/การให้บริการ ให้มีความโปร่งใสมากขึ้น
- การเปิดเผยข้อมูล (Open Data)
─ การพัฒนาสารสนเทศ
─ การมีเปิดเผยข้อมูล
─ การมีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน
─ เก็บข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐที่เข้ารับการประเมินทั้งหมด โดยไม่มีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง และจะเก็บข้อมูลโดยการจัดจ้างผู้รับจ้างตรวจสอบข้อมูลจากเว็บไซต์ของหน่วยงาน
- การป้องกันการทุจริต (Anti – Corruption Practice)
─ หน่วยงานได้แสดงให้สังคมรับรู้ว่าผู้บริหารให้ความสาคัญกับการป้องกันการทุจริต
กรอบการประเมิน 3 เครื่องมือ
- แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายใน (Internal Integrity and Transparency Assessment (IIT)
- แบบวัดการรับรู้ของผู้มีส่วนได้เสียภายนอก (External Integrity and Transparency Assessment (EIT)
- แบบตรวจการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment (OIT)

ผู้เขียนมีความเห็นว่า ผู้บรรยายได้ยกตัวอย่างประเด็นคำถาม ข้อร้องเรียน จากกรอบการประเมินหัวข้อต่าง ๆ ได้อย่างชัดแจน บรรยายได้ดีมากในเวลาที่กำหนด การประเมินแบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน (แบบ IIT) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยหน่วยงานเผยแพร่ช่องทางเพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเข้าระบบ ITA Online แบบวัดการรับรู้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก(แบบ EIT) จะเก็บรวบรวมข้อมูลโดยผู้รับจ้างสำรวจข้อมูลแล้วนำเข้าระบบ ITA Online ส่วนแบบตรวจการเปิดเผยข้อมูล (แบบ OIT) จะเก็บรวบรวมข้อมูลโดยหน่วยงานเอง
มหาวิทยาลัยมหิดลกำหนดแนวทางให้ส่วนงานทั้งหมดของมหาวิทยาลัยนำหลักเกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของส่วนงานภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ 2562 จัดทำเป็นข้อตกลงการปฏิบัติงานของส่วนงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (ITA – MU PA 2019) เฉพาะในส่วนของการเปิดเผยข้อมูลสาธารณะ (Open Data Integrity and Transparency Assessment (OIT) ซึ่งมี ตัวชี้วัดย่อยจำนวน 48 ข้อ ตามลิ้งค์กองกฎหมาย มหาวิทยาลันมหิดล ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมหิดลคาดหวังว่าการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสดังกล่าวจะส่งผลให้มหาวิทยาลัยมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักธรรมภิบาลเพื่อการบริหารจัดการองค์กรอย่างยั่งยืน
ข้อมูลเพิ่มเติม : กองกฏหมาย มหาวิทยาลัยมหิดล
เขียนโดย : นางอาภา หงษ์อินทร์ (นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ)