การจัดการบรรณานุกรมด้วยโปรแกรม
การ Citation ในโปรแกรม EndNote นั้น จะทำการ Citation ทีละบท เพื่อง่ายและสะดวกในการใช้งาน เพราะถ้าทำการ Citation ทีเดียวทั้งเล่ม คงจะตาลายและสับสนกับข้อมูลแน่นอน บางคนทำวิทยานิพนธ์ 400-500 หน้า พอแทรก Citation อาจจะมึนๆ งงๆ อยู่บ้าง ดังนั้นการแทรก Citation ทีละบท จึงน่าจะตอบโจทย์ผู้ใช้งานโปรแกรม EndNote มากที่สุด
เมื่อทำการ Citation ครบทุกไฟล์ ทุกบท เรียบร้อยแล้ว ในแต่ละบท EndNote จะทำการสร้าง Reference ไว้ท้ายบททุกบทโดยอัตโนมัติ ถึงเวลาที่ต้องนำทุกบทมาประกอบร่างเข้าด้วยกัน
ไฟล์งานที่มีการ Citation ไว้แล้ว จะมี Code ฝังอยู่ในไฟล์ หากไม่ทำการ Decode ออกก่อน จะทำให้ไม่สามารถมองเห็น Reference ที่แทรกไว้ได้ วิธีที่จะทำให้อาจารย์และเพื่อนของคุณ เห็นรายการ Reference โดยไม่ต้องติดตั้งโปรแกรม EndNote ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ จะใช้วิธีการแปลงเอกสารเป็น Plain Text ซึ่งมีวิธีการอย่างไรนั้น ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ได้เลยค่ะ
รายการ Reference ที่ทำการ Citation ลงใน Microsoft word แล้วนั้น หากมีข้อมูลที่ผิด และจำเป็นต้องแก้ไขข้อมูล หรือต้องการลบข้อมูลนั้นออก มีวิธีการง่าย ๆ โดยปกติแล้ว หากไม่มีโปรแกรม EndNote เข้ามาช่วยในการจัดการรายการบรรณานุกรม ผู้ใช้บริการก็จะทำการแก้ไขโดยตรงจากไฟล์ Microsoft Word ส่งผลให้เกิดความยุ่งยาก อีกทั้งหากมีการลบรายการ Reference รายการใดรายการหนึ่งไปแล้ว จะต้องมานั่งทำการจัดลำดับ Bibliography อีก ปัญหานี้จะหมดไปด้วยการใช้คำสั่งของโปรแกรม EndNote ซึ่งมีวิธีการอย่างไรนั้นไปติดตามกันเลยค่ะ
การแทรก Citation ลงในไฟล์ Microsoft Word (Cite while you write)
การแทรก Citation ลงในไฟล์ Microsoft Word สามารถทำได้ ดังนี้
วิธีที่ 1 เริ่มต้นการแทรก Citation จากโปรแกรม Microsoft Word
วิธีที่ 2 เริ่มต้นการแทรก Citation จากโปรแกรม EndNote X9
เคยไหมคะ? ดาวน์โหลดเอกสาร Full-Text จากแหล่งสารสนเทศต่าง ๆ มาเป็น 100 เรื่อง 1000 เรื่อง แล้วเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ พอถึงเวลาต้องอ้างอิงรายการบรรณานุกรมที แทบปวดหัวกันเลยทีเดียว วันนี้เรามีวิธีง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณผู้อ่านจัดการกับเอกสาร Full-Text เหล่านั้น โดยใช้เจ้าโปรแกรม EndNote มาช่วยสร้างรายการบรรณานุกรมด้วยวิธีที่ง่ายแสนง่าย ไปติดตามกันได้เลยค่ะ การ Import ข้อมูลจากไฟล์ PDF เป็นการนำเข้าไฟล์เอกสารในรูปแบบ PDF โปรแกรม EndNote จะทำการแปลงข้อมูลจากไฟล์ PDF เป็นรูปแบบข้อมูลรายการอ้างอิง
Google Scholar เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ของวรรณกรรมทางวิชาการ ที่เปิดให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลอ้างอิงกับแหล่งอื่นๆ และติดตามงานวิจัยใหม่ๆ ได้อย่างสะดวกสบาย ขอบข่ายที่สามารถเข้าถึงได้ ได้แก่ วารสาร เอกสารการประชุม หนังสือวิชาการ วิทยานิพนธ์และวิทยานิพนธ์
บทคัดย่อ รายงานทางเทคนิค วรรณกรรมทางวิชาการอื่น ๆ
EBSCO Discovery Service (EDS) เป็นการสืบค้นข้อมูลแบบ Single Search ในการสืบค้นข้อมูลครั้งเดียว ระบบก็สามารถแสดงผลลัพธ์ได้จากฐานข้อมูลจากหลายแหล่งที่มาของข้อมูลพร้อม ๆ กัน ทั้งฐานข้อมูลที่ สกอ.บอกรับ และไม่ได้บอกรับ, ฐานข้อมูลที่มหาวิทยาลัยมหิดลบอกรับ, ฐานข้อมูลหนังสือออนไลน์ ebook
การสร้าง Group set เป็นการแบ่งกลุ่มของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการค้นหาข้อมูล โดยอาจจะจัดกลุ่มของข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งานเอง เช่น แบ่งตามประเภทของรายการอ้างอิง เช่น วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทความวิจัย หรือรายงานการวิจัย เป็นต้น หรือแบ่งตามหัวข้อวิจัยที่ผู้ใช้งานสนใจ ซึ่งอาจจะแบ่งกลุ่มออกเป็น Keyword ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น หัวข้อ “ การประเมินความรุนแรงของ Covid-19 ในประเทศไทย ” ในหัวข้อนี้ Keyword คือ “ Covid-19 ” ก็สามารถใช้เป็นชื่อกลุ่มหัวข้อได้ ทั้งนี้ ผู้ใช้งานสามารถประยุกต์การสร้าง Group set ในรูปแบบต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งานเอง
โปรแกรม EndNote เป็นโปรแกรมจัดการบรรณานุกรม ซึ่งจะช่วยในการเขียนรายการอ้างอิงทั้งในเนื้อหาและบรรณานุกรมท้ายเรื่อง ซึ่งโปรแกรม EndNote มีรูปแบบในการเขียนอ้างอิงมากกว่า 5,000 รูปแบบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบการเขียนอ้างอิงของวารสารนานาชาติเพื่อการส่งตีพิมพ์ และยังสามารถปรับรูปแบบอ้างอิงที่มีอยู่มาประยุกต์ใช้เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของหน่วยงานได้ ตลอดทั้งสามารถใช้โปรแกรม EndNote ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ในการใช้งานด้านอื่น ๆ ได้อีกด้วย