โปรแกรมการจัดการบรรณานุกรม
การ Citation ในโปรแกรม EndNote นั้น จะทำการ Citation ทีละบท เพื่อง่ายและสะดวกในการใช้งาน เพราะถ้าทำการ Citation ทีเดียวทั้งเล่ม คงจะตาลายและสับสนกับข้อมูลแน่นอน บางคนทำวิทยานิพนธ์ 400-500 หน้า พอแทรก Citation อาจจะมึนๆ งงๆ อยู่บ้าง ดังนั้นการแทรก Citation ทีละบท จึงน่าจะตอบโจทย์ผู้ใช้งานโปรแกรม EndNote มากที่สุด
เมื่อทำการ Citation ครบทุกไฟล์ ทุกบท เรียบร้อยแล้ว ในแต่ละบท EndNote จะทำการสร้าง Reference ไว้ท้ายบททุกบทโดยอัตโนมัติ ถึงเวลาที่ต้องนำทุกบทมาประกอบร่างเข้าด้วยกัน
รายการ Reference ที่ทำการ Citation ลงใน Microsoft word แล้วนั้น หากมีข้อมูลที่ผิด และจำเป็นต้องแก้ไขข้อมูล หรือต้องการลบข้อมูลนั้นออก มีวิธีการง่าย ๆ โดยปกติแล้ว หากไม่มีโปรแกรม EndNote เข้ามาช่วยในการจัดการรายการบรรณานุกรม ผู้ใช้บริการก็จะทำการแก้ไขโดยตรงจากไฟล์ Microsoft Word ส่งผลให้เกิดความยุ่งยาก อีกทั้งหากมีการลบรายการ Reference รายการใดรายการหนึ่งไปแล้ว จะต้องมานั่งทำการจัดลำดับ Bibliography อีก ปัญหานี้จะหมดไปด้วยการใช้คำสั่งของโปรแกรม EndNote ซึ่งมีวิธีการอย่างไรนั้นไปติดตามกันเลยค่ะ
การแทรก Citation ลงในไฟล์ Microsoft Word (Cite while you write)
การแทรก Citation ลงในไฟล์ Microsoft Word สามารถทำได้ ดังนี้
วิธีที่ 1 เริ่มต้นการแทรก Citation จากโปรแกรม Microsoft Word
วิธีที่ 2 เริ่มต้นการแทรก Citation จากโปรแกรม EndNote X9
ProQuest Dissertations & Theses Global เป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท และปริญญาเอกจากสถาบันทางการศึกษาที่มีชื่อเสียงในประเทศสหรัฐอเมริกาและแคนาดา รวมถึงสถาบันการศึกษาจากทวีปยุโรป ออสเตรเลีย เอเชียและแอฟริกา มากกว่า 1,700 แห่ง ประกอบด้วยวิทยานิพนธ์มากกว่า 3 ล้านชื่อเรื่อง ซึ่งให้บริการรูปแบบฉบับเต็ม (Full Text) มากกว่า 1.5 ล้านชื่อ ย้อนหลังตั้งแต่ปี 1997-ปัจจุบัน
ScienceDirect เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและเอกสารฉบับเต็ม (Full-text) จากวารสารของ สำนักพิมพ์ในเครือ Elsevier ประกอบด้วย หนังสือและวารสารด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ การแพทย์ สามารถดูข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ปี ค. ศ. 2005 – ปัจจุบัน
การนำข้อมูลรายการบรรณานุกรม หรือข้อมูลเอกสารอ้างอิง เข้าใน EndNote Library นั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นการนำเข้าข้อมูลด้วยการพิมพ์ด้วยมือ การนำเข้าข้อมูลโดยตรงจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หรือการนำเข้าข้อมูลจากไฟล์ Full text (.pdf) เป็นต้น ใน EP6 นี้ ผู้เขียนจะมาบอกวิธีการนำข้อมูลเข้าด้วยการพิมพ์ด้วยมือกันก่อนค่ะ ซึ่งถือเป็นวิธีการนำเข้าแบบพื้นฐาน เพราะถ้าเราเข้าใจรูปแบบพื้นฐานนี้แล้ว การนำเข้าข้อมูลรูปแบบอื่น ๆ ก็จะไม่เป็นปัญหาของเราอีกต่อไป ไปดูขั้นตอนกันเลยค่ะ
การสร้าง Group set เป็นการแบ่งกลุ่มของข้อมูลต่าง ๆ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการค้นหาข้อมูล โดยอาจจะจัดกลุ่มของข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งานเอง เช่น แบ่งตามประเภทของรายการอ้างอิง เช่น วิทยานิพนธ์ หนังสือ บทความวิจัย หรือรายงานการวิจัย เป็นต้น หรือแบ่งตามหัวข้อวิจัยที่ผู้ใช้งานสนใจ ซึ่งอาจจะแบ่งกลุ่มออกเป็น Keyword ที่ใช้ในการค้นหาข้อมูล ยกตัวอย่างเช่น หัวข้อ “ การประเมินความรุนแรงของ Covid-19 ในประเทศไทย ” ในหัวข้อนี้ Keyword คือ “ Covid-19 ” ก็สามารถใช้เป็นชื่อกลุ่มหัวข้อได้ ทั้งนี้ ผู้ใช้งานสามารถประยุกต์การสร้าง Group set ในรูปแบบต่าง ๆ ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งานเอง
โดยส่วนใหญ่การเขียนวิทยานิพนธ์ งานวิจัย บทความ ฯลฯ จะมีทั้งภาษาอังกฤษ และภาษาไทย ตัวโปรแกรม EndNote จะตั้งค่า Default Font ไว้คือ Font :Segoe UI,9pt ซึ่งไม่สามารถแสดงภาษาไทยได้ ดังนั้น หากผู้เขียนจำเป็นต้องอ้างอิงเอกสารที่มีภาษาไทยประกอบอยู่ด้วยนั้น ต้องตั้งค่าให้โปรแกรม EndNote สามารถอ่านและแสดงภาษาไทยได้ก่อน หลายคนไม่ได้ตั้งค่าในส่วนนี้ จึงทำให้เวลาที่ Import รายการอ้างอิงที่เป็นภาษาไทยเข้าสู่ตัวโปรแกรม EndNote กลายเป็นภาษาแปลกๆ